หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

การติดตั้ง FTP Server (vsftpd) ให้กับ Ubuntu 11.10 Server

1. เปิด Terminal ขึ้นมา  ด้วยการกด Ctrl + Alt + t


        2. ให้ทำการ Update และ Upgrade Server ให้มีความเป็นปัจจุบันก่อน 

  •     การ Update จะใช้คำสั่ง  $ sudo apt-get update  จากนั้นใส่รหัสผ่านลงไป
  •     การ Upgrade จะใช้คำสั่ง $ sudo apt-get upgrade จากนั้นใส่รหัสผ่านลงไป


ผลจากการ Update Upgrade เสร็จ


        3. ทำการติดตั้ง FTP Server  ด้วยแพ็คเกต vsftpd  โดยการพิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้ลงไป
      $ sudo apt-get install vsftpd  ดังรูป


การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์


        4. ตรวจสอบการทำงานของ Service ftp(พอร์ต 21) โดยการพิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้ลงไป $ netstat-tan ดังรูป


        5.  Service FTP ทำงานที่พอร์ต 21 ดังรูป


         6. เข้าไปแก้ไขไฟล์คอนฟิก vsftpd.conf  ซึ่งเก็บไว้ที่ /etc/vsftpd.conf   สามารถกำหนดบริการของ FTP ได้ 2 แบบ คือ แบบระบุตัวตนผู้ใช้บริการ กับ แบบไม่ระบุตัวตนผู้ใช้บริการ  เลือกตั้งค่าเป็นแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น  โดยการพิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้ลงไป  $ sudo gedit /etc/vsftpd.conf  ดังรูป



         7. ทดสอบการติดตั้ง FTP แบบระบุตัวตนผู้ใช้บริการ คือจะต้องมีบัญชีผู้ใช้งานอยู่ในระบบ
ในไฟล์ /etc/vsftpd.conf ให้เอา comment(#) หน้าบรรทัดที่มีข้อความต่อไปนี้ออกไป  จากนั้นให้  Save ไว้เหมือนเดิม
anonymous_enable=no //จะทำให้ Anonymous User ไม่สามารถเข้าใช้งาน FTP ได้
local_enable=YES //จะทำให้ User ที่อยู่ใน Network วงเดียวกันกับ Server) สามารถใช้งาน  FTP ได้
write_enable=YES //จะทำให้ User สามารถ Upload File ไปที่ Server ได้
            chroot_local_user=YES //จะเป็นการบังคับไม่ให้ User ออกนอก Home Directory ของตนเองไปยัง  Directory ที่มีลำดับชั้นที่สูงกว่า



         8. รีสตาร์ท เซอร์วิส(Restart Service) vsftpd  โดยการพิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้ลงไป
$ sudo service  vsftpd restart  ดังรูป


        9. ทดสอบการเข้าใช้งาน  FTP Server  จากคอมพิวเตอร์อีกเครื่อง  ซึ่งการเข้าใช้งานนั้นจะต้องใช้บัญชีของ User ที่มีอยู่ใน FTP Server เท่านั้น  ซึ่งในที่นี้เรามี User ที่ชื่อว่า redcrow อยู่แล้ว สามารถเข้าใช้งานได้เลย  หรือหากต้องการเข้าใช้ด้วยบัญชีอื่น  ก็ต้องทำการสร้างบัญชีผู้ใช้งานขึ้นมาใหม่  จึงจะสามารถเข้าใช้บริการของ  FTP Server ได้ 

ในกรณีนี้ เครื่อง Server เป็นเพียงเครื่องที่ทำการจำลองขึ้นมาใน VMware  และไม่ได้ใช้ IP จริง หรือ Public IP(ใช้เป็น Private IP แทน เช่น 192.168.1.1, 10.2.80.13 เป็นต้น)  จึงสามารถทดสอบได้เฉพาะเครื่องที่อยู่ในวง Network เดียวกันเท่านั้น  ส่วนเครื่องที่ไม่ได้อยู่ในวง Network เดียวกัน  จะไม่สามารถเข้าใช้บริการของ FTP Server ได้  แต่ถ้าเป็นกรณีที่  Server ใช้เป็น  Public IP เช่น 203.192.167.10 เป็นต้น  จะทำให้สามารถเข้าใช้บริการของ  FTP Server ได้จากทุกๆที่   

        10. ตรวจสอบ IP ของ FTP Server ก่อน  โดยการพิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้ลงไป $ sudo ifconfig  ดังรูป


        11. ที่คอมพิวเตอร์อีกเครื่อง(Windows 7)  ให้ทำการเปิด cmd ขึ้นมา  ด้วยการไปที่ Start Menu แล้วพิมพ์หา  cmd ดังรูป

        12. ตรวจสอบ IP เครื่อง โดยการพิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้  > ipconfig ดังรูป


1      13. IP ของ FTP Server คือ  192.168.107.144  Subnet Mask 255.255.255.0
และ IP ของ Client (Windows 7) คือ  192.168.107.138 Subnet Mask 255.255.255.0 
ซึ่งทั้ง 2 เครื่องที่อยู่ในวง Network เดียวกัน 

        14. การเข้าใช้บริการ FTP จะทดสอบโดยการเข้าใช้ผ่านโปรแกรม  FileZilla FTP Client  ซึ่งจะต้องทำการติดตั้งโปรแกรมไว้นี้ในเครื่องเสียก่อน   เปิดโปรแกรม FileZilla FTP Client ขึ้นมา ดังรูป


        15. การใช้งานทำได้ดังรูปต่อไปนี้


        16. ผลลัพธ์จากการ Connect


        17. ทดสอบการ Upload File  ด้วยการเลือกไฟล์(File)จากทางฝั่ง Client ที่ต้องการ  จากนั้นลองคลิ๊กเมาส์ที่ไฟล์นั้นค้างไว้  แล้วลากจากฝั่ง Client ไปวางทางฝั่ง Server  ในกรณีที่ไม่สามารถทำการลากวางได้  ให้ทำการคลิ๊กขวาที่ไฟล์ที่ต้องการ Upload  จากนั้นเลือกเมนู Upload  เพื่อทำหน้าที่แทนการลากวาง ดังรูป


        18. จะมีไฟล์โผล่ขึ้นมาที่ฝั่ง Server  ในหน้า Desktop ดังรูป

  
        19. ทดสอบการ Download File  ดังรูป


2      20.ให้เลือกไฟล์ที่ต้องการจะ Download  จากนั้นทำการคลิ๊กที่ไฟล์นั้นค้างไว้  แล้วลากจากทางฝั่ง Server ไปยังฝั่ง Client   ในกรณีที่ไม่สามารถทำการลากวางได้  ให้ทำการคลิ๊กขวาที่ไฟล์ที่ต้องการ Download จากนั้นเลือกเมนู Download  เพื่อทำการ Download แทนการลากวาง  ดังรูป


        21. ทดสอบการเข้าใช้งาน FTP Server  ผ่าน  Web Browser  โดยการพิมพ์ URL ดังนี้ 
ftp://FTP Server IP  เช่น  ftp://192.168.107.144  ดังรูป


  22. กรอก Username กับ Password ลงไป แล้วกดปุ่ม ตกลง จะเข้าสู่การใช้บริการของ FTP ดังรูป 
  


        23. ทดสอบการเข้าใช้งาน Directory ที่มีลำดับชั้นสูงกว่า  Home Directory ของ User  
ผลลัพธ์คือ  ไม่สามารถเข้าใช้งานได้  เนื่องจากได้ตั้งค่าคอนฟิก  
chroot_local_user=YES //จะเป็นการบังคับไม่ให้ User ออกนอก Home Directory ของตนเองไปยัง  Directory ที่มีลำดับชั้นที่สูงกว่า    ไว้ในไฟล์  /etc/vsftpd.conf  จึงได้ผลลัพธ์ดังรูป


credit : เพื่อนพ้องน้องพี่กรรรมไอที บ้านสูงชั้น 13 ริมน้าเจ้าพระยา

1 ความคิดเห็น: